เมนู

ผู้ประพฤติดีและปฏิบัติชอบ ที่รู้ยิ่งแล้วซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว
ประกาศทำให้แจ้งในโลกนี้ไม่มีดังนี้ มีอย่างนี้เป็นรูปอันใด ทิฏฐิ ความเห็นไป
ข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นข้าศึกความดิ้นรนเพราะ
ทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความเกี่ยวเกาะ ความยึดมั่นการยึด
ถือความปฏิบัติผิด บรรดาผิด ทางผิด ภาวะที่เป็นผิด ลัทธิเป็นแดนเสื่อม
ความยึดถือ การแสวงหาผิด อันใด มีลักษณะอย่างนี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ
มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินี้ ชื่อว่า
ผู้มีทิฏฐิวิบัติ.
[67] 1. อัชฌัตตสัญโญชนบุคคล บุคคลผู้มีสัญโญชน์ภาย
ใน เป็นไฉน ?

โอรัมภาคิยสัญโญชน์ 5 อันบุคคลใดยังละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียก
ว่า ผู้มีสัญโญชน์ภายใน.
2. พหิทธาสัญโญชนบุคคล บุคคลผู้มีสัญโญชน์ภาย
นอก เป็นไฉน ?

อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ 5 อันบุคคลใดยังละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้มีสัญโญชน์ภายนอก.

อรรถกถาอหิริกบุคคล คือ ผู้ไม่มีหิริ เป็นต้น


พึงทราบวินิจฉัยในอหิริกนิเทศต่อไป.
สองบทว่า "อิมินา อหิริเกน" ความว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม คือ
ความไม่ละอายนี้ อันมีประการอย่างนี้. แม้ในคำเป็นต้นว่า "อโนตฺตปฺเปน"
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า "อชฌตฺตสญฺโญชโน" ได้แก่ มีเครื่องผูกในภายใน.
สองบทว่า "พหิทฺธา สญฺโญชโน" ได้แก่ ผู้มีเครื่องผูกในภาย
นอก. เครื่องผูกแม้ทั้ง 2 เหล่านี้ บัณฑิตพึงแสดงการอุปมาด้วยโรงลูกโค. จริง
อยู่ พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ที่ดำรงชีวิตอยู่ในกามโลกนี้ เปรียบ
เหมือนลูกโคที่เขาผูกให้นอนอยู่ภายในโรงลูกโคนั่นแหละ. เครื่องผูก คือ
สังโยชน์แห่งพระโสดาบัน และพระสกทาคามีเหล่านั้น ตั้งอยู่ในกามโลกนี้ แม้
ตัวท่านก็ดำรงอยู่ในภพนี้เหมือนกัน. ถ้าพระโสดาบัน และพระสกทาคามีดำรง
อยู่ในรูปภพ หรืออรูปภพ ก็เปรียบเหมือนกับลูกโคที่เขาผูกไว้ในภายใน ณ
โรงแห่งลูกโค แต่ตัวลูกโคนอนอยู่ภายนอกโรง เพราะว่าเครื่องผูกแห่งพระ-
โสดาบัน และพระสกทาคามีเหล่านั้น ตั้งอยู่ในกามโลกนี้ แต่ท่านอยู่ใน
พรหมโลก. พระอนาคามีผู้อยู่ในรูปภพ เปรียบเหมือนกับลูกโคที่เขาผูกไว้
ภายนอกโรง ตัวก็นอนอยู่ภายนอกโรง เพราะว่า เครื่องผูก คือสังโยชน์แห่ง
พระอนาคามีนั้นอยู่ในภายนอกจากกามโลก แม้ตัวท่านก็ดำรงอยู่ในภายนอกจาก
กามโลกเหมือนกัน. ส่วนพระอนาคามีผู้สถิตอยู่ในกามโลกนี้ เปรียบเหมือน
กับลูกโคที่เขาผูกไว้ภายนอกโรง แต่ตัวนอนอยู่ภายในโรง. เพราะว่า เครื่อง
ผูกของอนาคามีนั้น อยู่ในรูปภพ อรูปภพ แต่ท่านอยู่ในกามภพนี้.

[68] 1. อักโกธนบุคคล บุคคลผู้ไม่โกรธ เป็นไฉน ?
ความโกรธในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะ
ที่โกรธ โทสะ กิริยาที่ประทุษร้าย ภาวะที่ประทุษร้าย พยาบาท กิริยาที่
พยาบาท ภาวะที่พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความ
เกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่ยินดี นี้เรียกว่า ความโกรธ ความโกรธนี้ อัน
บุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่โกรธ.

2. อนุปนาหีบุคคล บุคคลผู้ไม่ผูกโกรธ เป็นไฉน ?
ความผกโกรธ ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความโกรธมีในกาลเบื้องต้น
ความผูกโกรธมีในกาลภายหลัง ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูก
โกรธ การไม่หยุดโกรธ การตั้งความโกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การไหล
ไปตามความโกรธ การผูกพันความโกรธ การทำความโกรธให้มั่นเข้า อันใด
เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความผูกโกรธ. ความผูกโกรธนี้ อันบุคคลใดละได้แล้ว
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ผูกโกรธ.

อรรถกถาอักโกธนบุคคล คือ บุคคลผู้ไม่โกรธ เป็นต้น


บทว่า "ปหีโน" ได้แก่ ความโกรธที่บุคคลละได้แล้ว ด้วยวิก-
ขัมภนปหาน หรือด้วยตทังคปหาน หรือ ด้วยสมุจเฉทปหาน.
[69] 1. อมักขีบุคคล บุคคลผู้ไม่ลบหลู่บุญคุณผู้อื่น เป็นไฉน ?
ความลบหลู่บุญคุณผู้อื่น ในข้อนั้น เป็นไฉน ? ความลบหลู่ กิริยา
ที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่ ความไม่เห็นคุณของผู้อื่น การกระทำความไม่เห็นคุณ
ผู้อื่น นี้เรียกว่า ความลบหลู่บุญคุณผู้อื่น. ความลบหลู่บุญคุณผู้อื่นนี้ อัน
บุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ลบหลู่บุญคุณผู้อื่น.
2. อปลาสีบุคคล บุคคลผู้ไม่ตีเสมอผู้อื่น เป็นไฉน ?
ความตีเสมอผู้อื่น ในข้อนี้ เป็นไฉน. ? การตีเสมอ กิริยาที่ดีเสมอ
ภาวะที่ตีเสมอ ธรรมที่เป็นอาหารแห่งการตีเสมอ ฐานะแห่งวิวาท การถือเป็น